-----------------------------
โรคไข้เลือดออก เป็นมหันตภัยที่คร่าชีวิตประชากรทั่วโลกมากกว่าร้อยละ 40 หรือ 2,500 ล้านคน โดยประมาณร้อยละ 70 ของผู้ป่วยทั้งหมด อาศัยในภูมิภาคเอเชียซึ่งเป็นประเทศเขตร้อนและเขตอบอุ่น
สำหรับลักษณะการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกจะแปรผันตามฤดูกาล โดยมีแนวโน้มที่จำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มสูงมากขึ้น ในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม ดังนั้นเพื่อให้ตนเองและคนที่รักปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก จึงควรเข้าใจถึงสาเหตุ อาการ และวิธีการป้องกัน ดังต่อไปนี้
โรคไข้เลือดออก เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue Virus) มี 4 สายพันธุ์ ได้แก่ DENV-1, DENV-2, DENV-3 หรือ DENV-4 ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรค โดยยุงลายจะกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่ติดเชื้อเดงกี เชื้อก็จะติดไปกับยุงลาย และเมื่อไปกัดคนอื่นต่อ ก็จะส่งผลให้เชื้อไวรัสแพร่กระจายสู่คนนั้นได้
อาการไข้เลือดออกแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะแรกหรือระยะไข้ ระยะวิกฤต และระยะฟื้นตัว ซึ่งจะแสดงอาการออกมาให้เห็นแตกต่างกันไป ดังนี้
1. ระยะแรกหรือระยะไข้ เป็นระยะที่ผู้ป่วยจะมีไข้สูงเฉียบพลัน 39-40 องศาเซลเซียส ติดต่อกันประมาณ 2-7 วัน และมีอาการต่าง ๆ ร่วมด้วย คือ
ปวดศีรษะรุนแรง ปวดเบ้าตา ปวดรอบกระบอกตา
ปวดกล้ามเนื้อ ข้อ และกระดูก
คลื่นไส้ อาเจียน
มีจ้ำเลือด หรือผื่นแดงขึ้นที่บริเวณผิวหนังตามร่างกาย
อาการเบื่ออาหาร
อาการไข้เลือดออก ในระยะแรก จะไม่ปรากฏออกมาพร้อมกัน จึงควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นโรคไข้เลือดออกจริงหรือไม่ และต้องคอยเฝ้าระวังและติดตามอาการอยู่เสมอ
2. ระยะวิกฤต เป็นระยะที่ผู้ป่วยเริ่มมีไข้ลดลง ซึ่งจะเป็นช่วง 3-7 วันหลังจากที่มีไข้สูง นับเป็นช่วงที่ต้องเฝ้าระวังเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะช็อกจากไข้สูง หรือช็อกจากเลือดออกที่อวัยวะภายใน ซึ่งอาการที่จะพบได้ในระยะนี้ คือ
ปวดท้องบริเวณชายโครงขวาอย่างรุนแรง เนื่องจากภาวะตับโต (Hepatomegaly)
มีเลือดออกผิดปกติ เลือดออกตามไรฟัน เลือดกำเดาไหล
ปัสสาวะ อุจจาระ หรืออาเจียนปนเลือด
ความดันโลหิตไม่สม่ำเสมอ ความดันโลหิตลดต่ำในผู้ที่มีอาการรุนแรง
ระบบไหลเวียนเลือดล้มเหลว
หากพบว่าผู้ป่วยมือเท้าเย็น กระสับกระส่าย หายใจถี่เร็ว พูดจาไม่รู้เรื่อง เอะอะโวยวาย ตัวเย็น เหงื่อออก ตัวลาย สีผิวคลํ้าลง ปัสสาวะน้อยลง เป็นสัญญาณเตือนเข้าสู่ภาวะช็อก ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล เพื่อให้อยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างเร็วที่สุด
3. ระยะฟื้นตัว เป็นระยะที่ผ่านพ้นระยะไข้สูงโดยไม่ได้เข้าสู่ระยะวิกฤต หรือผ่านพ้นระยะวิกฤตมาแล้ว 1-2 วัน และเริ่มที่จะฟื้นตัว อาการต่าง ๆ ของโรคจะค่อย ๆ ดีขึ้น โดยสังเกตได้ดังต่อไปนี้
มีผื่นสีแดงเล็ก ๆ สาก ๆ เป็นวงสีขาวขึ้นตามร่างกาย
ไข้ลดลง อุณหภูมิร่างกายกลับสู่ภาวะปกติ
ชีพจรเต้นเป็นปกติ และมีความดันโลหิตที่สูงขึ้น
ภาวะตับโตลดลง
ปัสสาวะและอุจจาระเป็นปกติ
อยากรับประทานอาหารมากขึ้น
ถึงแม้ว่าในระยะนี้ อาการโดยรวมจะค่อย ๆ ดีขึ้น แต่ยังควรต้องเฝ้าระวังภาวะเลือดออกต่อไปอีกอย่างน้อย 1 สัปดาห์ หากพบอาการผิดปกติควรรีบมาพบแพทย์ทันที
เด็กและผู้สูงอายุ
เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันที่ยังไม่แข็งแรงในเด็ก และระบบภูมิคุ้มกันที่เสื่อมถอยในผู้สูงอายุ ทำให้ทั้งสองกลุ่มนี้มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไข้เลือดออก รวมถึงมักมีอาการรุนแรงอีกด้วย
ผู้ที่เป็นโรคอ้วนหรือมีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน
ภาวะอ้วนอาจส่งผลต่อการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน และเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากโรคไข้เลือดออกได้ง่ายยิ่งขึ้น
ผู้หญิงที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์
การติดเชื้อไข้เลือดออกในระหว่างตั้งครรภ์ อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อทั้งแม่และทารกในครรภ์
ภาวะโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตกง่าย
ผู้ที่มีภาวะโรคเม็ดเลือดแดงแตกง่าย หากติดเชื้อไข้เลือดออก จะมีความเสี่ยงสูงต่อภาวะเลือดออกผิดปกติ ซึ่งส่งผลให้มีอาการรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
ผู้ป่วยโรคหัวใจตั้งแต่กำเนิด
โรคหัวใจอาจทำให้ร่างกายรับมือกับการติดเชื้อได้ยากขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง
ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคตับ อาจมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากไข้เลือดออก ทำให้เมื่อติดเชื้อจะมีอาการรุนแรง และเป็นอันตรายมากขึ้น
สำหรับวิธีป้องกันไข้เลือดออกที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง มีดังต่อไปนี้
กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
ควรกำจัดแหล่งน้ำขังรอบบ้าน เช่น ภาชนะรองกระถางต้นไม้ ยางรถยนต์เก่า หรือภาชนะที่อาจมีน้ำขัง
ปิดปากภาชนะเก็บน้ำ ด้วยตาข่าย หรือฝาอะลูมิเนียม
หมั่นเปลี่ยนน้ำในภาชนะรองน้ำ เช่น แจกันดอกไม้สด ถ้วยใส่น้ำรองขาตู้กับข้าว
พยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกยุงกัด
ใช้ยาทากันยุง
สวมเสื้อผ้าที่ปกปิดร่างกาย
นอนในมุ้ง
หลีกเลี่ยงการอยู่นอกบ้านในเวลากลางคืน โดยเฉพาะช่วงฤดูฝน ที่ยุงลายชุกชุม และมีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว
ฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก
ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก ที่เมื่อฉีดแล้วจะช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อ หรือลดความรุนแรงของโรค โดยสามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 4-60 ปี แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับวัคซีนเพื่อประเมินความเหมาะสม
ถึงแม้ว่าจะพยายามหลีกเลี่ยงและป้องกันตนเองและคนที่รักจากโรคไข้เลือดออกแล้ว แต่ก็ยังมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไข้เลือดออกได้เช่นกัน โดยโรคไข้เลือดออกนั้น ถ้าหากเป็นแล้วต้องใช้เวลาในการรักษาตัวในโรงพยาบาลนาน เพราะแพทย์ต้องคอยติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ดังนั้นจึงควรมีประกันสุขภาพ เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะมีเงินจ่ายค่ารักษาพยาบาล รวมถึงค่าห้อง ค่าบริการทางการแพทย์ต่าง ๆ อย่างครอบคลุม และมั่นใจว่าสามารถเข้าถึงการรักษาได้อย่างทันท่วงที ซึ่งสำหรับผู้ที่กำลังมองหาประกันสุขภาพ ประกันเหมาจ่าย สัญญาเพิ่มเติมโตเกียว กู๊ด เฮลธ์ (Tokio Good Health) จากโตเกียวมารีนประกันชีวิต คือสิ่งที่ตอบโจทย์มากที่สุด
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการลูกค้ารายบุคคล โทรศัพท์ 02-650-1400 วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-20.00 น.
ข้อมูลอ้างอิง
ไข้เลือดออก ภัยร้ายจากยุงลาย. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2567 จาก https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/dengue
ไข้เด็งกี่ (Dengue). สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2567 จาก https://www.ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=44
วิธีสังเกต ไข้เลือดออก ภัยใกล้ตัวจากยุงลาย (Dengue Fever). สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2567 จาก https://navavej.com/articles_d/18859/Dengue_Fever
โรคไข้เลือดออกระบาด - สาเหตุ อาการ ระวัง ป้องกัน รู้ทันยุงลาย. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2567 จาก https://www.vibhavadi.com/Health-expert/detail/251
โรคไข้เลือดออก. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2567 จาก https://www.bumrungrad.com/th/conditions/dengue-hemorrhagic-fever
รู้ทันไข้เลือดออก. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2567 จาก https://knowdengueth.com/know-the-symptoms#/
ไข้เลือดออก อันตราย!. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2567 จาก https://www.sikarin.com/doctor-articles/ไข้เลือดออก-อันตราย
รู้ทัน ! สัญญาณเตือนอาการโรคไข้เลือดออก พร้อมวิธีดูแลรักษา. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2567 จาก https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/สัญญาณเตือนไข้เลือดออก/
โรคไข้เลือดออก: สาเหตุและอาการทั้ง 3 ระยะ. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2567 จาก https://bangkokpattayahospital.com/th/health-articles-th/internal-medicine-th/dengue-th/
ไข้เลือดออก (Dengue fever). สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2567 จาก https://www.medparkhospital.com/disease-and-treatment/dengue-fever
ไข้เลือดออก มีวิธีรักษาและดูแลตัวเองอย่างไร ไม่ให้ช็อก !. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2567 จาก https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/ไข้เลือดออก/
ผู้เขียนบทความนี้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการประกันชีวิตและประกันชีวิตบำนาญ ซึ่งมีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี ทั้งด้านประกันชีวิตและประกันสุขภาพสำหรับรายบุคคลและรายกลุ่ม เราได้ให้ทั้งคำปรึกษาและออกแบบแผนประกันที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าหลากหลายกลุ่ม เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ลูกค้าของเราอยู่เสมอ ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญนี้ ทำให้ลูกค้าโตเกียวมารีนประกันชีวิตมั่นใจได้ว่า จะได้รับความคุ้มครองที่ตอบโจทย์กับความคุ้มครองของคุณมากที่สุด ทำให้ผู้อ่านมั่นใจได้ว่าเนื้อหาทุกบทความจะเป็นข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของท่าน
ดูแผนประกันทั้งหมดของเราChoose your country or region
Visit HQ Pages
Visit Country Pages
Select your location and language
All
All
Asia Pacific
Australia
Americas
Europe
Singapore
Malaysia
Australia
You are currently on a site outside of your country Switch to external site?
Visit your local page. If you change your mind, you can use the dropdown at the top navigation to visit other Tokio Marine country pages.
ขณะนี้คุณอยู่ในเว็บไซต์นอกประเทศของคุณ เปลี่ยนไปใช้เว็บไซต์ประเทศของคุณไหม?
เยี่ยมชมเว็บไซต์ในประเทศของคุณ หากคุณเปลี่ยนใจ คุณสามารถเลือกเมนูด้านล่าง เพื่อไปที่หน้าประเทศอื่นๆ ของโตเกียวมารีน