-----------------------------
การวางแผนการเงินหลังเกษียณอายุเป็นเรื่องสำคัญ เพราะแม้เกษียณอายุแล้ว ก็ยังต้องมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นค่ากิน ค่าอยู่ ค่าเดินทาง หรือแม้แต่ค่ารักษาพยาบาลที่อาจเป็นค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ที่ทำให้เงินเก็บและเงินสวัสดิการต่าง ๆ ต้องหมดไปเพื่อรักษาตัว โดยเฉพาะสำหรับพนักงานบริษัทเอกชนที่ไม่ได้มีเงินบำนาญเหมือนกับข้าราชการ ซึ่งในวันนี้เราจะพามารู้จักแหล่งเงินเกษียณอายุและรายได้ รวมถึงประกันชีวิตแบบบำนาญที่จะเป็นเหมือนกับที่พึ่งให้ในวัยหลังเกษียณของพนักงานเอกชนกัน
สำหรับผู้ที่ทำงานในบริษัทเอกชนจนถึงวัยเกษียณอายุ เงินเกษียณอายุแหล่งแรกที่จะต้องได้ก็คือ “เงินชดเชยเลิกจ้าง” นั่นเอง เนื่องจากการเกษียณอายุนั้นถือเป็นการเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิด ซึ่งตามกฎหมายแรงงานแล้ว ลูกจ้างที่ทำงานครบ 120 วันขึ้นไปมีสิทธิได้รับเงินชดเชย โดยยิ่งทำงานในบริษัทนั้น ๆ มานานเท่าไหร่ อัตราเงินชดเชยที่ได้ก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย
อายุการทำงาน | อัตราเงินชดเชยที่จะได้รับ |
ผู้ที่ทำงานครบ 120 วัน แต่ไม่เกิน 1 ปี |
30 วัน |
ผู้ที่ทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี |
90 วัน |
ผู้ที่ทำงานครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี |
180 วัน |
ผู้ที่ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี |
240 วัน |
ผู้ที่ทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี |
300 วัน |
ผู้ที่ทำงานครบ 20 ปีขึ้นไป |
400 วัน |
โดยคำนวณจากอัตราเงินเดือนสุดท้าย เช่น นางสาวเอ ทำงานที่บริษัทแห่งหนึ่งเป็นเวลา 15 ปี และมีเงินเดือนตอนเกษียณอายุคือ 30,000 บาท หรือคิดเป็นวันละ 1,000 บาทจะได้รับเงินชดเชย 1,000 บาท x 300 วัน = 300,000 บาท
เงินชดเชยเลิกจ้างนี้มักจะจ่ายให้แก่ลูกจ้างที่เกษียณอายุในวันที่รับเงินเดือนเดือนสุดท้าย หรือวันเกษียณอายุ อย่างไรก็ตามเงินชดเชยนี้เป็นเงินก้อนที่ได้รับครั้งเดียว จึงควรนำไปบริหารอย่างรอบคอบด้วยการออม หรือการลงทุนเพื่อให้มีใช้ในระยะยาว
นอกจากเงินชดเชยเลิกจ้างแล้ว หลังเกษียณอายุ พนักงานบริษัทที่เป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมยังมีสิทธิได้รับเงินเกษียณอายุในรูปแบบเงินบำนาญชราภาพทุกเดือนตลอดชีวิตเมื่ออายุครบ 55 ปีและสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนด้วย
โดยผู้ที่ต้องการรับเงินบำนาญจากกองทุนประกันสังคม สามารถยื่นคำขอได้ที่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ หรือผ่านระบบออนไลน์ของกองทุนประกันสังคม
ผู้ที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน หรือ 15 ปี จะได้รับเงินบำนาญ โดยจำนวนเงินบำนาญที่ได้รับจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาและจำนวนเงินที่จ่ายสมทบ
คำนวณเงินบำนาญจากกองทุนประกันสังคมได้ดังนี้
ผู้ที่จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน จะได้รับเงินบำนาญ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
สำหรับผู้ที่จ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน จะได้รับเงินบำนาญเพิ่มอีก 1.5% ต่อทุกการจ่ายเงินสมทบเกิน 12 เดือน
เช่น
ตัวอย่างที่ 1 : ผู้ที่มีค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย 18,000 บาท และจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน
จะได้เงินบำนาญต่อเดือนเท่ากับ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย หรือก็คือ 20% × 18,000 บาท
จึงจะได้รับเงินบำนาญ 3,600 บาท/เดือน
ตัวอย่างที่ 2 : สำหรับผู้ที่มีค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย 18,000 บาท และจ่ายเงินสมทบ 204 เดือน
ขั้นแรก คำนวณเงินบำนาญพื้นฐาน
เงินบำนาญพื้นฐาน = 20% × 18,000 บาท = 3,600 บาท/เดือน
ขั้นที่สอง คำนวณเงินบำนาญส่วนเพิ่ม
จำนวนเดือนที่จ่ายเกิน (204 เดือน - 180 เดือน) = 24 เดือน
จำนวนปีที่จ่ายเกิน = 24 ÷ 12 = 2 ปี
เงินบำนาญส่วนเพิ่ม = (1.5% × 2) × 18,000 บาท = 540 บาท
รวมเงินบำนาญทั้งหมด = เงินบำนาญพื้นฐาน + เงินบำนาญส่วนเพิ่ม
= 3,600 + 540
= 4,140 บาท/เดือน
ดังนั้น ผู้ที่จ่ายเงินสมทบ 204 เดือนจะได้รับเงินบำนาญ 4,140 บาท/เดือน
ผู้ที่จ่ายเงินสมทบไม่ถึง 180 เดือนก็สามารถรับเป็นเงินบำเหน็จชราภาพครั้งเดียวได้ด้วย
แม้ว่าเงินบำนาญชราภาพนี้จะเป็นรายได้ประจำ แต่อาจไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตในปัจจุบัน จึงควรมีการวางแผนการเงินเพิ่มเติมด้วยวิธีอื่น ๆ ด้วย
สำหรับวัยเกษียณที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ทางรัฐบาลไทยได้จัดสรรให้มีเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่มีสัญชาติไทย ซึ่งเบี้ยผู้สูงอายุนี้จะจ่ายในอัตราแบบขั้นบันไดขึ้นอยู่กับช่วงอายุ เริ่มตั้งแต่ 600-1,000 บาทต่อเดือน โดยสามารถขอรับเบี้ยผู้สูงอายุได้ที่สำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
คุณสมบัติของผู้ขอรับเบี้ยผู้สูงอายุ
เป็นผู้มีสัญชาติไทย
เป็นผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เป็นผู้มีอายุ 60 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป
เป็นผู้ไม่มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ ตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติกำหนด
นอกจากเงินเกษียณอายุที่ได้ตามกฎหมายแรงงาน และหน่วยงานของรัฐแล้ว หลังเกษียณอายุ พนักงานบริษัทบางแห่งอาจได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เนื่องจากบางบริษัทอาจมีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพขึ้นมาเพื่อช่วยให้ลูกจ้างได้สะสมเงินเข้ากองทุนและรับเงินสมทบจากนายจ้างด้วย
โดยเมื่อสิ้นสุดการเป็นสมาชิกหรือเกษียณอายุ ลูกจ้างจะได้รับเงินก้อนนี้ไปใช้ ซึ่งเงินในส่วนนี้มักจ่ายให้ครั้งเดียวเมื่อเกษียณอายุ ดังนั้นจึงควรจัดการอย่างเหมาะสมด้วยการออม หรือนำไปลงทุนเพื่อให้มีใช้ในระยะยาวด้วยเช่นกัน
นอกจากแหล่งรายได้ทั้งหมดที่กล่าวมาแล้ว การมีเงินออมส่วนตัวก็ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้มีความมั่นคงทางการเงินในวัยเกษียณได้ โดยอาจเลือกออมเงินได้หลายรูปแบบ เช่น
การลงทุนในกองทุนต่าง ๆ
การลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ เช่น ทอง อสังหาริมทรัพย์ และอื่น ๆ
การซื้อประกันชีวิตสะสมทรัพย์ หรือประกันชีวิตแบบบำนาญ
ประกันชีวิตแบบบำนาญเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับการวางแผนการเงินหลังเกษียณ เพราะมีข้อดีดังนี้
ทำให้วางแผนการใช้จ่ายได้ง่ายขึ้น ช่วยให้มีรายได้แน่นอน เนื่องจากประกันบำนาญหลายแผนจะมีการจ่ายเงินคืนเป็นรายเดือน หรือรายปี
ลดความเสี่ยงจากการลงทุนได้ เพราะบริษัทประกันเป็นผู้รับความเสี่ยงในการลงทุน โดยที่คุณไม่ต้องกังวลเรื่องความผันผวนของตลาด
ได้ประโยชน์ด้านความคุ้มครองชีวิตด้วย เพราะนอกจากการออมแล้วประกันบำนาญยังมีความคุ้มครองชีวิตให้แก่ผู้เอาประกัน ซึ่งสร้างความอุ่นใจให้แก่ครอบครัวได้ด้วย
มาพร้อมสิทธิประโยชน์ทางภาษี เนื่องจากเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด
ควรเลือกประกันบำนาญให้สอดคล้องกับแผนการเกษียณของคุณ โดยพิจารณาจากอายุเริ่มต้นรับเงินบำนาญ
เลือกซื้อประกันบำนาญจากระยะเวลาการรับเงินบำนาญ โดยอาจเลือกแบบรับตลอดชีพ หรือกำหนดระยะเวลาก็ได้
ประเมินค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะมีในวัยเกษียณ เพื่อเลือกซื้อแผนประกันที่ให้เงินบำนาญอย่างเหมาะสม
เลือกแผนประกันบำนาญที่สามารถจ่ายเบี้ยประกันได้โดยไม่เป็นภาระทางการเงิน
เลือกบริษัทที่มีความมั่นคง และน่าเชื่อถือเพื่อความอุ่นใจในระยะยาว
จะเห็นได้ว่าเงินชดเชย เงินบำนาญ และเบี้ยยังชีพจากรัฐบาลอาจไม่สามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและค่ารักษาพยาบาล ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงและมีแนวโน้มจะจ่ายถี่ขึ้นในช่วงบั้นปลายชีวิตได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องวางแผนการเงินหลังเกษียณให้ดี เลือกประกันชีวิตแบบบำนาญจากโตเกียวมารีนประกันชีวิต เพื่อให้ชีวิตหลังเกษียณของคุณ เป็นช่วงชีวิตที่มีคุณภาพและมีอิสระทางการเงิน
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการลูกค้ารายบุคคล โทรศัพท์ 02-650-1400 วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-20.00 น.
ข้อมูลอ้างอิง
เงินชดเชยเกษียนอายุ. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2567 จาก https://www.mol.go.th/forums/topic/เงินชดเชยเกษียนอายุ
ถูกให้ออกจากงาน ลูกจ้างต้องได้รับค่าชดเชยหรือไม่. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2567 จาก https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/31/iid/251562
เช็กเลย “เบี้ยผู้สูงอายุ 2567” เดือน พ.ค. โอนเข้าบัญชีวันนี้!. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2567 จาก https://www.pptvhd36.com/news/สังคม/213859
ผู้เขียนบทความนี้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการประกันชีวิตและประกันชีวิตบำนาญ ซึ่งมีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี ทั้งด้านประกันชีวิตและประกันสุขภาพสำหรับรายบุคคลและรายกลุ่ม เราได้ให้ทั้งคำปรึกษาและออกแบบแผนประกันที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าหลากหลายกลุ่ม เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ลูกค้าของเราอยู่เสมอ ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญนี้ ทำให้ลูกค้าโตเกียวมารีนประกันชีวิตมั่นใจได้ว่า จะได้รับความคุ้มครองที่ตอบโจทย์กับความคุ้มครองของคุณมากที่สุด ทำให้ผู้อ่านมั่นใจได้ว่าเนื้อหาทุกบทความจะเป็นข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของท่าน
ดูแผนประกันทั้งหมดของเราChoose your country or region
Visit HQ Pages
Visit Country Pages
Select your location and language
All
All
Asia Pacific
Australia
Americas
Europe
Singapore
Malaysia
Australia
You are currently on a site outside of your country Switch to external site?
Visit your local page. If you change your mind, you can use the dropdown at the top navigation to visit other Tokio Marine country pages.
ขณะนี้คุณอยู่ในเว็บไซต์นอกประเทศของคุณ เปลี่ยนไปใช้เว็บไซต์ประเทศของคุณไหม?
เยี่ยมชมเว็บไซต์ในประเทศของคุณ หากคุณเปลี่ยนใจ คุณสามารถเลือกเมนูด้านล่าง เพื่อไปที่หน้าประเทศอื่นๆ ของโตเกียวมารีน