มะเร็งในผู้หญิง วิธีรักษา

วางแผนสุขภาพ ทำความรู้จักการตรวจคัดกรองเต้านมด้วยแมมโมแกรม

ดูแลตัวเองให้ห่างไกลโรคร้ายแรง ตอบทุกคำถามเกี่ยวกับการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรมว่าคืออะไร เพื่อวางแผนการรักษาตั้งแต่เริ่ม

ทำความรู้จัก การตรวจแมมโมแกรมคืออะไร

การตรวจแมมโมแกรมคืออะไร

แมมโมแกรม เป็นวิธีตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อตรวจวินิจฉัยหาความผิดปกติของเต้านมตั้งแต่ระยะเริ่มแรก โดยใช้รังสีเอกซเรย์พลังงานต่ำ 2 ลำแสง ฉายผ่านเต้านมจากด้านตรงและด้านข้าง เพื่อสร้างภาพเต้านม 2 ภาพ ทำให้สามารถตรวจพบความผิดปกติของเต้านมได้ เช่น ก้อนเนื้อ หินปูน หรือขนาดของเต้านมที่ไม่สม่ำเสมอซึ่งอาจเกิดจากมะเร็งเต้านม ซึ่งการตรวจแมมโมแกรมมีประโยชน์มากมาย ดังนี้

  • ช่วยตรวจหามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก ซึ่งมีโอกาสสูงในการรักษาให้หายขาดได้

  • ช่วยติดตามผลการรักษามะเร็งเต้านม

  • ช่วยประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม

 

การตรวจแมมโมแกรมเหมาะกับใคร อายุเท่าไหร่

การตรวจแมมโมแกรมเหมาะสำหรับผู้หญิงทุกคน โดยสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (American Cancer Society) มีคำแนะนำให้ผู้หญิงอายุ 45-54 ปี เข้ารับการตรวจทุกปี และผู้หญิงอายุ 55 ปีขึ้นไปควรเข้ารับการตรวจ 2 ปีครั้ง สำหรับหญิงในช่วงอายุ 40-44 ปี หรือต่ำกว่านั้น หากมีปัจจัยความเสี่ยง ดังต่อไปนี้ ก็สมควรได้รับการตรวจเช่นกัน

  • ผู้หญิงที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม

  • ผู้หญิงที่เคยรับการฉายแสงเพื่อรักษาโรคมะเร็งชนิดอื่นที่บริเวณหน้าอก

  • ผู้หญิงที่รับยาฮอร์โมนอย่างสม่ำเสมอ

  • ผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมแล้ว 1 ข้าง

  • ผู้หญิงที่ไม่เคยมีบุตรหรือตั้งครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุมากกว่า 30 ปี 

 

อาการแบบไหนที่ควรตรวจมะเร็งเต้านม

อาการของมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นอาจไม่ปรากฏให้เห็นชัดเจน ดังนั้น การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรม จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยตรวจหาในระยะเริ่มแรก ซึ่งมีโอกาสสูงในการรักษาให้หายขาดได้ จึงควรสังเกตให้ดี หากมีอาการดังนี้ควรไปพบแพทย์ 

  • คลำบริเวณเต้านมแล้วเจอก้อนเนื้อ 

  • เจ็บเต้านม มีเลือด หรือของเหลวออกจากหัวนม

  • หัวนมบอด โดยที่แต่ก่อนไม่เคยเป็น

  • ผิวหนังบริเวณเต้านมบุ๋ม หรือย่น

ไขข้อสงสัย ตรวจแมมโมแกรม เจ็บไหม

การตรวจแมมโมแกรม เจ็บไหม

การตรวจแมมโมแกรมอาจทำให้เกิดอาการเจ็บเล็กน้อยขณะตรวจ เนื่องจากต้องกดเต้านมให้แนบกับเครื่อง เพื่อให้เนื้อเต้านมแผ่ออก ซึ่งช่วงที่อาจทำให้เกิดความเจ็บจะมีเพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้น และอาการเจ็บจะหายไปอย่างรวดเร็วหลังการตรวจเสร็จ โดยปัจจัยที่อาจทำให้รู้สึกเจ็บ ได้แก่

  • ความหนาแน่นของเนื้อเต้านม โดยผู้หญิงที่เนื้อเต้านมมีความหนาแน่นสูง มักมีอาการเจ็บมากกว่าผู้หญิงเนื้อเต้านมมีความหนาแน่นต่ำ

  • ช่วงใกล้ประจำเดือน ที่เต้านมอาจมีความคัดตึงและไวต่อการสัมผัสมากกว่าปกติ

  • สรีระและสภาพผิว เช่น ผู้ที่มีความผิดปกติของกระดูกหน้าอก หรือกระดูกสันหลัง อาจทำให้สามารถจัดท่าถ่ายแมมโมแกรมได้ยาก รวมถึงสภาพผิวก็ส่งผลเช่นกัน

โดยสามารถลดอาการเจ็บจากการตรวจแมมโมแกรมได้ด้วยวิธี ดังนี้

  • เลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมในการตรวจแมมโมแกรม เช่น ควรตรวจหลังประจำเดือนหมดไปแล้วประมาณ 1 สัปดาห์

  • งดดื่มชา กาแฟ หรือแอลกอฮอล์ก่อนการตรวจ 12 ชั่วโมง เนื่องจากเป็นเครื่องดื่มที่อาจทำให้เต้านมไวต่อความรู้สึกมากขึ้น

  • ออกกำลังกายเป็นประจำ เพราะจะช่วยให้เนื้อเต้านมมีความยืดหยุ่นมากขึ้น

  • ปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลเกี่ยวกับการใช้ยาแก้ปวดก่อนการตรวจแมมโมแกรม

 

ตรวจแมมโมแกรม รู้ผลเลยไหม

การตรวจแมมโมแกรมเป็นวิธีที่สะดวกรวดเร็ว โดยใช้ระยะเวลาการตรวจประมาณ 20-30 นาที และสามารถบอกผลตรวจเบื้องต้นถึงจุดที่น่าสงสัยได้ทันที ส่วนการอ่านผลตรวจโดยละเอียดอาจต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์

 

สิ่งที่ตามมาหลังจากการรู้ผล คงหนีไม่พ้นความเครียดที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในด้านการรักษาและค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งประกันมะเร็งเต้านมก็เป็นโรคร้ายที่มักไม่ได้รับการดูแลครอบคลุม ขอแนะนำ! สัญญาเพิ่มเติม ฟีเมล สเปเชี่ยล ดิซีซส์ Female Special Diseases (FSD) ประกันคุ้มครองโรคที่เกิดเฉพาะกับผู้หญิง จากโตเกียวมารีน ซึ่งให้ความคุ้มครองพิเศษเสริมจากประกันภัยหลักในกรณีที่เกิดโรคร้ายแรงที่พบเฉพาะในผู้หญิง โดยเฉพาะโรคมะเร็งซึ่งอาจเกิดได้หลายจุดในร่างกาย เช่น ประกันมะเร็งเต้านม ที่จะช่วยสร้างความมั่นใจ โดยจะได้รับเงินทุนประกันภัยชดเชยตามที่ระบุในกรมธรรม์ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการลูกค้ารายบุคคล โทรศัพท์ 02-650-1400 วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-20.00 น. 

 

แหล่งอ้างอิง  

  1. American Cancer Society Guidelines for the Early Detection of Cancer. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 จาก https://www.cancer.org/cancer/screening/american-cancer-society-guidelines-for-the-early-detection-of-cancer.html

  2. ไขข้อสงสัย การตรวจแมมโมแกรม. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 จาก https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/fqa-mammogram

  3. อาการเตือนแบบไหนควรตรวจดิจิตอลแมมโมแกรม. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 จาก https://www.paolohospital.com/th-TH/center/Article/Details/มะเร็งผู้หญิง/มะเร็งเต้านม-รู้ทันก่อนสาย-ด้วยการตรวจดิจิตอลแมมโมแกรม 

ต้องการความช่วยเหลือในด้านอื่นหรือไม่

สามารถติดต่อเรา โดยเราจะรีบตอบกลับในเวลาอันรวดเร็ว

Choose your country or region

Visit HQ Pages

Tokio Marine Holdings
Tokio Marine Asia

Visit Country Pages

Select your location and language

Select Region
  • All

  • All

  • Asia Pacific

  • Australia

  • Americas

  • Europe

Country icon

Singapore

MY Icon

Malaysia

Philippines

Philippines

Malayan Insurance Co., Inc.
indonesia

Indonesia

thailand

Thailand

India

India

IFFCO-Tokio General Insurance
Vietnam

Vietnam

Tokio Marine Insurance Vietnam Company Limited
Myanmar

Myanmar

Australia

Australia

USA

USA

Tokio Marine Management Inc
USA

USA

First Insurance Company of Hawaii
USA

USA

Philadelphia Consolidated Holdings Corp
USA

USA

HCC Insurance Holdings
UK

UK

Tokio Marine Kiln Group Ltd
Cross

You are currently on a site outside of your country Switch to external site?

Visit your local page. If you change your mind, you can use the dropdown at the top navigation to visit other Tokio Marine country pages.

Cross

ขณะนี้คุณอยู่ในเว็บไซต์นอกประเทศของคุณ เปลี่ยนไปใช้เว็บไซต์ประเทศของคุณไหม?

เยี่ยมชมเว็บไซต์ในประเทศของคุณ หากคุณเปลี่ยนใจ คุณสามารถเลือกเมนูด้านล่าง เพื่อไปที่หน้าประเทศอื่นๆ ของโตเกียวมารีน