กลุ่มที่ 2 ค่าใช้จ่ายในการซื้อประกัน กองทุน และการลงทุน
หมวดประกัน
ประกันสังคม
หักลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 9,000 บาท
เบี้ยประกันชีวิต และประกันแบบสะสมทรัพย์
ที่มีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป หักลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
เบี้ยประกันสุขภาพ และเบี้ยประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองสุขภาพ
หักลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท และหากรวมกับค่าเบี้ยประกันชีวิต จะต้องไม่เกิน 100,0000 บาท
เบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดาของตนและบิดามารดาของคู่สมรส
หักลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยบิดามารดาของแต่ละคนมีเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 30,000 บาทในปีภาษีที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้
เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
ที่มีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป หักลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง ในอัตรา 15% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
หมวดกองทุน การออม และการลงทุน
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF : Retirement Mutual Fund)
หักลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี และสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
หักลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของค่าจ้างเฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 490,000 บาท
กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
หักลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท
ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้มีเงินได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยง กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน เงินได้ที่ได้รับยกเว้นข้างต้นเมื่อรวมกับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกองทุนสงเคราะห์ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
หักลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท
กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG)
หักลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30% ของ เงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 300,000 บาท (อัปเดต 2 มกราคม 2568)
กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืนแบบพิเศษ (Thai ESGX)
ตามประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 11 มีนาคม 2568 ได้มีมติเห็นชอบการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อสนับสนุนสนหุ้นกลุ่มความยั่งยืนและมีมติอนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืนแบบพิเศษ (Thai ESGX) โดยสามารถหักลดหย่อยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ดังนี้
1. หักลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30% ของ เงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 300,000 บาท โดยจะต้องซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน Thai ESGX ภายในระยะเวลา 2 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม – 30 มิถุนายน 2568
2. หากบุคคลธรรมดาที่ถือหน่วยลงทุนในกองทุน LTF ได้สับเปลี่ยนหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นหน่วยลงทุนในกองทุน Thai ESGX จะสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ตามจริงไม่เกิน 500,000 บาท โดยในปีภาษี 2568 สามารถหักลดหย่อนได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท และในปี 2569 – 2572 สามารถหักลดหย่อนได้ตามจริงปีละไม่เกิน 50,000 บาท
ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ สร้าง หรือเช่าที่อยู่อาศัย สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกินปีละ 100,000 บาท โดยสามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้มากกว่า 1 หลัง
เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม) หักลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
ทั้งนี้ โดยเป็นไปตามที่ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
กลุ่มที่ 3 ค่าใช้จ่ายกลุ่มเงินบริจาค
เงินบริจาคทั่วไป
เช่น บริจาคให้วัดและหน่วยงานต่าง ๆ สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อนภาษีแล้ว
เงินบริจาค
- ในวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม ประโยชน์สาธารณะ และบริจาคเพื่อสถานพยาบาลของรัฐผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) สามารถนำมาลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนภาษีแล้ว
- เงินบริจาคอื่น หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
เงินบริจาคให้กับพรรคการเมือง
หักลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
กลุ่มที่ 4 ค่าใช้จ่ายในโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ
การใช้จ่ายที่อยู่ในโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นการกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย หรือโครงการช้อปดีมีคืน (อาจแตกต่างกันไปในแต่ละปี)
โครงการ “Easy E-Receipt” ลดหย่อนสูงสุด 50,000 บาท (ปี 2568)
เป็นโครงการช้อปลดหย่อนภาษีประจำปี 2568 ที่ให้ประชาชนนำเอกสารยืนยันการใช้จ่ายในรูปแบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ที่ได้ในช่วงตั้งแต่ 16 มกราคม 2568 – 28 กุมภาพันธ์ 2568 มาใช้ลดหย่อนภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริงสำหรับปีภาษี 2567 เท่านั้น สูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท
ค่าก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัย หักลดหย่อนสูงสุด 100,000 บาท
เมื่อผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ชำระค่าจ้างก่อสร้างอาคารเพื่ออยู่อาศัยขึ้นใหม่ให้แก่ผู้รับจ้างซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถลดหย่อนได้จำนวน 10,000 บาท ต่อทุกจำนวน 1,000,000 บาทตามที่จ่ายจริง แต่รวมค่าลดหย่อนแล้วไม่เกิน 100,000 บาท และไม่เกินหนึ่งหลัง เฉพาะค่าก่อสร้างบ้านใหม่ตามสัญญาจ้างที่ได้เริ่มก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2567 – 31 ธันวาคม 2568
ทั้งนี้ โดยเป็นไปตามที่ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
มาตรการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
ค่าซ่อมบ้าน หักลดหย่อนเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
สำหรับค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมบ้านที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย ซึ่งได้จ่ายระหว่างวันที่ 16 สิงหาคม 2567 – 31 ธันวาคม 2567 นั้น สามารถนำมาใช้ลดหย่อนสำหรับปีภาษี 2567 ได้ตามที่จ่ายจริง แต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกินหนึ่งแสนบาท
ค่าซ่อมรถ หักลดหย่อนเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท
สำหรับค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถ หรืออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในรถ ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย ซึ่งได้จ่ายระหว่างวันที่ 16 สิงหาคม 2567 – 31 ธันวาคม 2567 นั้น สามารถนำมาใช้ลดหย่อนสำหรับปีภาษี 2567 ได้ตามที่จ่ายจริง แต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกินสามหมื่นบาท
ทั้งนี้ โดยเป็นไปตามที่ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
นี่ก็คือ 4 วิธีลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดาด้วยค่าใช้จ่าย 4 ประเภท ซึ่งเมื่อคุณรู้แล้วว่าการลงทุน หรือค่าใช้จ่ายใดที่ลดหย่อนภาษีได้มีอะไรบ้าง ก็อย่าลืมวางแผนภาษีกันให้ดี โดยอาจเลือกลงทุนในกองทุนรวม บริจาคให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ หรือเลือกซื้อประกันชีวิต หรือประกันสุขภาพที่ให้ประโยชน์สองต่อ ทั้งได้รับการคุ้มครองจากประกันและสามารถใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการลดหย่อนภาษีได้ด้วย
หากสนใจประกันชีวิตที่ใช้ลดหย่อนภาษีได้ ให้โตเกียวมารีนประกันชีวิตช่วยดูแลคุณ เพราะเรามีตัวเลือกประกันมากมายหลายรูปแบบ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการลูกค้ารายบุคคล โทรศัพท์ 02-650-1400 วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-20.00 น.